วันพุธ, กุมภาพันธ์ 29, 2555

การเขียน Title ยังไงให้น่าคลิกสำหรับการทำ SEO

            หลักการทำ SEO แท้จริงแล้วก็คือ การสร้างผู้ชมให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่แค่การทำ Ranking อย่างเดียว ถึงแม้ว่าเว็บของคุณจะมี Ranking ดีแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าเขียน Title แล้วอ่านไม่จูงใจไม่ตรงประเด็น ก็ทำให้ไม่มีใครอยากเข้ามาดูเว็บเพจของคุณได้ค่ะ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรในการทำ Ranking  ดังนั้น การเขียน Title นั้นสำคัญมากในทุก ๆ กรณี และไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด
           ถ้าคุณเห็นว่าการปรับโครงสร้างเว็บไซต์ของคุณเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย และคุณก็ไม่ได้คิดจะทำอะไรมาก แต่อย่างน้อยคุณก็ไม่ควรยกเว้นเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งน่ะค่ะ ถ้าคุณไม่ทำอะไรเกี่ยวกับ SEO เพื่อเว็บไซต์ของคุณเลย ก็ขอให้อย่างน้อยทำ Title ของคุณให้ดีก่อนดีกว่าค่ะ
           การใช้ keywords ให้เหมาะสบสำหรับการเขียน Title กับทุกๆ เว็บเพจของคุณมีผลมากกับการทำ Rankingในสายตา Google โดยเฉพาะในหน้าแรกหรือโฮมเพจของเว็บไซต์ Title เป็นตำแหน่งของเว็บเพจที่จำเป็นอย่างยิ่ง คุณต้องใส่คีย์เวิร์ดของเนื้อหาเข้าไปด้วย เพราะเป็นส่วนแรก ๆ เลยที่ Google ให้ความสำคัญ และวิเคราะห์ว่าเว็บเพจแต่ละหน้านั้นมีเนื้อหาเรื่องออะไร เพื่อการจัดการ Ranking ในคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น ถ้าคุณใช้ซอฟต์แวร์สร้างเว็บไซต์ทั่วๆ ไป Title ในหน้า HTML จะแสดงให้เห็นอยู่ในคำสั่งหรือ Tag <title>............</title>
           สำหรับการตั้งชื่อ Title ให้โฮมเพจนั้น ก็จะเหมือนกับการตั้งชื่อเว็บเพจแต่ละหน้า และจำนวนคำทั้งหมด (รวมทั้งคีย์เวิร์ค) ก็ไม่ควรมีมากเกิน 10 คำ หรือ 60 ตัวอักษร ดังนั้นใช้ให้คุ้มค่า
           สำหรับโฮมเพจแล้ว ก็ไม่ควรใส่ชื่อบริษัทหรือชื่อของคุณลงไปเพื่อสร้างชื่อเสียงตรงนี้ เพราะมันไม่จำเป็น นอกซะจากว่าบริษัทของคุณจะโด่งดัง และมีคนต้องการค้นหากันมากในแต่ละวันอยู่แล้ว Title เป็นอันดับแรกๆ ถ้ามันไม่พบคีย์เวิร์ดที่สำคัญ ๆ ที่กำลังต้องการจะค้นหา Google ก็จะอาจมองข้ามเว็บเพจของคุณไปได้ทันที

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 19, 2555

Google Webmaster Tools ช่วยทำ SEO

             Google Webmaster Tools เป็นบริการฟรีดีๆ ของ Google ซึ่งบริการนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยเว็บมาสเตอร์หรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ในการทำ SEO กับ Google เป็นหลัก เมื่อใช้ Google Webmaster Tools มาช่วย เราก็ไม่ต้องทำ SEO แบบสะเปะสะปะไร้ทิศทาง ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างเพราะ Google Webmaster Tools เตรียมเครื่องมือพื้นฐานในการทำ SEO ไว้ให้เราพร้อมแล้ว นอกจากนี้ยังช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์ของเราอีกด้วยว่า ยังมีจุดบกพร่องในเรื่องการทำ SEO ตรงไหนบ้าง เช่น วิเคราะห์ว่า Googlebot พบปัญหาในการเข้ามาเก็บข้อมูลหรือไม่อย่างไร
             สรุป Google Webmaster Tools จะช่วยให้เราวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของเว็บไซต์ของเราได้ และจะนำไปสู่การปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นมิตรกับ Googlebot ช่วยให้ Googlebot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ง่าย ครบถ้วนและรวดเร็ว อีกทั้งมีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของเรามีความน่าเชื่อถือขึ้น ได้รับความนิยมขึ้น มีทราฟฟิกมากขึ้น และติดอยู่ในอันดับต้นๆ ในหน้าผลการค้นหาของ Google ได้ค่ะ

การสร้างโค้ด Google AdSense

             สำหรับคนที่ได้รับการอนุมัติแล้วให้ sign in เข้าระบบอีกครั้งด้วยอีเมลและพาสเวิร์ดที่ใช้ในตอนสมัครน่ะค่ะ พอเข้าไปได้แล้วจะเห็นเงื่อนไขในการใช้งานของ Google AdSense อยากให้อ่านข้อตกลงนิสนึงค่ะ เพื่อประโยชน์ขอตัวคุณเองน่ะค่ะ
เมื่อเข้าสู่ระบบ Google AdSense ได้แล้วเราจะมาสร้างโค้ดโฆษณาเพื่อนำไปติดไว้ที่เว็บไซต์ของเราตามขั้นตอนต่อไปนี้ค่ะ
            1. คลิก AdSense Setup
            2. ทำการเลือกรูปแบบโฆษณาที่คุณต้องการ ซึ่งมีอยู่ 4 รูปแบค่ะ
    • AdSense for Content
    • AdSense for Search
    • AdSense for Feeds
    • AdSense for Domains

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 17, 2555

ค่าตอบแทนจาก Google AdSense

ค่าตอบแทนของ Google AdSense ซึ่งโฆษณาจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ค่ะ

1. โฆษณาที่เกี่ยวข้องเนื้อหาของเว็บไซต์ (AdSense for Content) 
          เป็นโฆษณาที่จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ เช่น เว็บไซต์คุณเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับโรงแรมหรือการท่องเที่ยวต่างๆภายในหรือภายนอกประเทศก็ตาม ทาง Google ก็จะคัดสรรโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับโรงแรมหรือการท่องเที่ยวมาติดในเว็บไซต์ของคุณ 
และค่าตอบแทนก็จะมี 2 แบบซึ่งจะมีการคำนวนที่ต่างกันดังนี้ค่ะ

          1.1 จ่ายผลตอบแทนเมื่อคลิกโฆษณา  (Pay Per Click)

           คือ จ่ายเมื่อมีคนคลิกโฆษณา นั้นคือ Google จะจ่ายเงินให้เราทุกครั้งที่มีคนคลิกโฆษณาซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของเราแบบนี้ต่อให้มีคนเข้าเว็บไซต์ของเราเป็นหมื่น ๆ คนต่อวัน แต่ไม่มีคนคลิก เราก็ไม่ได้เงินแม้แต่บาทเดียวค่ะ

         2.1 จ่ายผลตอบแทนเมื่อแสดงโฆษณา (Pay Per Impression - CPM)

           คือ การจ่ายเมื่อโฆษณาแสดงผล โดย Google ทุกๆ 1,000 ครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการคลิกโฆษณาก็ได้ แต่ค่าตอบแทนจะน้อยกว่าถ้าเทียบกับแบบ Pay Per Click ค่ะ
สรุป รายได้ที่จะได้จาการแสดงโฆษณามีหลักเกณฑ์ ดังนี้น่ะค่ะ 
        1. แสดงโฆษณา ครบ 1,000 ครั้ง 
        2. ต้องมีผู้เยี่ยมชมคลิกโฆษณาด้วย ถ้าหากไม่มีผู้คลิกโฆษณาเลย รายได้นี้ก็ยังไม่คิดให้จนกว่าจะมีผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์คลิกโฆษณาด้วยเท่านั้น


รูปแบบโฆษณาของ Google AdSense

               Google AdSense เค้ามีรูปแบบโฆษณาอยู่หลายแบบให้เราได้เลือกใช้กัน ก่อนที่เราจะไปสร้างโค้คโฆษณาเพื่อมาวางที่เว็บไซต์ของเรา เราต้องเลือกรูปแบบการโฆษณาแบบที่เราต้องการก่อน ซึ่ง Google AdSense มีรูปแบบให้เลือกอยู่ 4 แบบด้วยกันค่ะ

1. AdSense for Content 
               ทาง Google AdSense จะทำการสำรวจเว็บไซต์ของเราก่อน เพื่อให้รู้ว่าเว็บไซต์ของเราเป็นแบบไหนมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร แล้ว Google AdSense ก็จะนำโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรามาแสดงโดยอัตโนมัติ ซึ่ง AdSense for Content ยังแบบรูปแบบย่อยๆ เป็น 2 รูปแบบ คือ
  • Ad unit จะเป็นการโฆษณาในรูปแบบแบนเนอร์ และเราสามารถตั้งค่าได้ว่าต้องการให้เป็นแบนเนอร์แบบข้อความโฆษณาหรือแบนเนอร์แบบรูปภาพ เลือกได้ตามต้องการเลยค่ะ
แบบข้อความ
แบบรูปภาพ

เทคนิคการสมัคร Google AdSense ให้ผ่านแบบชิวๆ

ดิฉันมีเทคนิคง่ายๆ ให้โอกาศในการสมัคร Google AdSense มาขึ้นค่ะ ^ ^

           1. เนื้อหาในเว็บไซต์ต้องไม่น้อยเกินไป ซึ้งควรจะมี 10 บทความขึ้นไป และควรมีภาพประกอบให้ดูน่าเชื่อถือ
           2. เว็บไซต์ต้องให้งานได้สมบูรณ์ ไม่มีลิงค์เสีย เมนูสามารถใช้งานได้
           3. เนื้อหาในเว็บไซต์มีทิศทางเดียวกัน ควรมีเนื้อหาทีมีความสอดคล้องกัน และการลงโฆษณาก็ควรที่จะเลือกโฆษณาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน
           4. ควรเป็นเว็บไซต์ที่สร้างมาก่อนแล้วระยะหนึ่ง และยังต้องมีการอัฟเดทอยู่เสมอ
           5. เนื้อหาในเว็บไซต์มีคุณภาพ
           6. สมัครโดยใช้ Blogger เนื่องจากเป็นบริการของ Google จำทำให้มีโอกาศได้รับการอนุมัติมากกว่า และใช้เวลาในการพิจารณาน้อยกว่าด้วย และที่สำคัญควรใช้ Gmail ในการสมัครจะช่วยได้เยอะเลยค่ะ
           7. กรอกข้อมูลในการสมัครให้ถูกต้องชัดเจน และต้องกรองเป็นภาษาอังกฤษด้วยน่ะค่ะ
           8. ไม่ละเมิดนโยบายของ Google AdSense เช่น ต้องไม่มีเนื้อหาที่นำเสนอความรุนแรง, การเหยียดเชื้อชาติ, การพนัน เป็นต้นค่ะ และกฎเหล็กอีก 1 ข้อที่ลืมไม่ได้เลย คือ ห้ามคลิกโฆษณาตัวเองเด็ดขาด



ศูนย์ช่วยเหลืออย่างเป็นทางการของ AdSense ::  
http://support.google.com/adsense/?hl=th

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 16, 2555

Google AdSense คืออะไร? และทำเงินได้ยังไง?

                   การทำงานของ Google AdSense เราแค่มีเว็บไซต์หรือบล็อกของตัวเอง แล้วไปสมัครลงทะเบียนกับ Google AdSense เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว สามารถนำโค้คโฆษณามาติดในเว็บไซต์หรือบล็อกของเราได้ จากนั้นโฆษณาของ Google AdSense จะแสดงขึ้นในหน้าเว็บไซต์หรือบล็อกของเรา ซึ่งโฆษณาเหล่านั้นมาจากผู้ที่ทำโฆษณากับ Google AdWords (เป็นบริการการโฆษณาของ Google แบบ Pay Per Click ) นั่นเองค่ะ
                   เราจะได้เงินค่าโฆษณาเมื่อมีคนมาคลิกโฆษณาในเว็บไซต์หรือบล็อกของเรา ย้ำ!! แค่คลิกเท่านั้นน่ะค่ะ เราก็จะได้เงินยิ่งมีคนคลิกโฆษณามากเท่าไรเราก็ยิ่งได้เงินมากเท่านั้นค่ะ แต่รายได้ต่อคลิกจะมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับค่าโฆษณาที่เจ้าของโฆษณาตกลงจ่ายให้กับ Google AdWords นั่นเองค่ะ

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 15, 2555

สำรวจความนิยมของตลาด

                     ดิฉันของแนะนำให้รู้จักกับ Google Trends คือบริการของ Google เป็นการหยิบข้อมูลทางการตลาดที่ Google ครอบครองมาแบ่งปันให้เรารู้ และเราสามารถตรวจสอบผ่าน Google Trends ได้ว่า คีย์เวิร์ดไหนได้รับความนิยมมากกัน เช่น ดิฉันต้องการทราบความนิยม ระหว่าง nokia, samsung, sony, iphone,BB โทรศัพท์ยี่ห้อไหนที่ได้รับความนิยมมากกว่ากัน ซึ่งดิฉันใช้ Google Trends ในการตรวจสอบได้อย่างละเอียดว่าเทรนด์ในแต่ละช่วงมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้เฉพาะประเทศหรือท้องถิ่นได้ว่าในท้องถิ่นนั้นๆ นิยมอะไรมากกว่ากัน ดิฉันจึงถือได้ว่า Google Trends นั้นเป็นบริการที่มีประโยชน์ช่วยให้เราวางแผนการตลาดได้เป็นอย่างดีทีเดียวค่ะ



Google Trends
Powered By Blogger