วันเสาร์, มีนาคม 31, 2555

20 เคล็ดลับ ในการสร้าง Blog และเขียนบทความ

                วันนี้มีโอกาสได้เข้าไปอ่านบทความ จาก อ.ธนกร ท่านใดที่อยู่ในวงการการทำการตลาดออนไลน์ น่าจะรู้จักกันน่ะค่ะ ทุกครั้งที่เข้าไปอ่านบทความของอาจารย์ก็จะได้คำแนะนำ แนวทางดีๆ กลับมาทุกครั้งเลยทีเดียว และวันนี้ได้อ่านบทความนึงต้องบอกเลยว่ามีความสำคัญมากมายเลยทีเดียวสำหรับผู้ที่ กำลังสร้าง Blog หรือ เขียนบทความ ต่างๆ อยากให้ท่านได้เอาไปเป็นแนวทางนั้นคือ 20 เคล็ดลับ ในการสร้าง Blog และเขียนบทความ ความรู้ดีๆ แบบนี้ ต้องแบ่งปันกันหน่อยจิงมั้ย ^____^ ขออธิบายแบบสรุปให้ฟังกันง่ายๆก็แล้วกันน่ะค่ะ..
               1. เรียนรู้การใช้งาน Blogging Platform ของท่านให้คล่อง
                   ไม่ว่าจะเป็น  WordPress, Joomla, Drupalหรือจะเป็น Blogger.com จะเป็น Platform ใดก็แล้วแต่ ท่านก็ควรที่จะเรียนรู้การใช้งานมันให้คล่อนแคล่ว เช่น การปรับ format ของคำ/ประโยค/ย่อหน้า รวมถึงการให้เครื่องมือต่างๆ ความปรับให้สวยงามและหน้าอ่านด้วยน่ะค่ะ



เรียนรู้การใช้งาน Blogging Platform ของท่านให้คล่อง

              2. การจัดหมวดหมู่
                   อ.ธนกร แนะนำให้ดูการจัดบ้านเป็นตัวอย่างนะค่ะ นี่ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ เป็นต้น อ.ธนกร กำลังจะบอกเราว่า เนื่องจากบทความที่มากมายหลากหลายเนื้อหาของเรานั้น เราควรที่จะทำการจัดกลุ่มซะหน่อย ให้คนที่เข้ามาศึกษาที่เว็บไซต์ของเราเข้าได้ถูกห้อง และได้รับข้อมูลที่ตรงตามความต้องการนั้นเองค่ะ

การจัดหมวดหมู่

             3. การเก็บลิสต์รายชื่อ
                    ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดของการสร้าง Blog ก็คือการไม่เก็บลิสต์รายชื่อของคนอ่าน << แง่จังน่ะค่ะอาจารย์ (- - )" มันหน้าเสียดายสุดๆ ถ้ามีคนเข้าไปอ่านบล็อกของเราวันละเป็นพัน แต่เจ้าของบล็อกกลับไม่รู้จักผู้อ่านเหล่านั้นเลย แต่ถ้าท่านทำการเก็บลิสต์รายชื่อผู้มุ่งหวังไว้ละก็ ท่านก็สามารถใช้ ระบบอีเมล์อัตโนมัติ (Autoresponder) ส่งข้อความถึงคนที่ลงทะเบียนไว้ ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทข่าวสารความสำคัญ สร้างความสัมพันธ์กับผู้มุ่งหวัง และนี่คือ "โซ่ท่อนกลาง" ที่เป็นรอยต่อระหว่างคำว่า "รู้จัก" กับ  "เชื่อถือ" 

แบบฟอร์มเก็บลิสต์รายชื่อ

             4. ใช้ชื่อจริง
                     อ.ธนกร บอกว่า blog เป็น เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Tool) ในการสร้างแบรนด์ให้กับตัวเราเอง (Branding) เราเขีบนบทความก็เพื่อให้คนรู้เรา ให้คนรู้ว่า เรารู้ในสิ่งที่พวกเขาค้นหา แต่ถ้าคนอ่านเขาไม่รู้ว่าเราเป็นใคร แล้วจะมีประโยชน์อะไร
                            นอกจากนั้น การเปิดเผยตัวตนเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเราเองด้วย การที่คนอ่านเขารู้จักชื่อเรา รู้ประวัติของเรา ติดต่อเราได้ มีความสำคัญมากในการสร้างความน่าเชื่อถือ และความน่าเชื่อถือนี่แหละที่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำการตลอดออนไลน์ (เพราะคนทั่วไปกลัวถูกหลอก)
การเขียนบทความต้องใช้ชื่อจริง

             5. ประวัติส่วนตัว ช่วยให้ท่านใกล้ชิดกับผู้อ่านได้มากขึ้น
                     ลองนึกถึงว่าท่านพบใครสักคนที่ยังไม่รู้จักกัน เพื่อที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่มีอะไรไปกว่าการเปิดเผยเรื่องราวบางอย่างของท่าน มันเป็นเครื่องมือสุดยอดที่ช่วยให้คนนั้น "เปิดใจ" ที่จะทำความรู้จัก และขยับเข้ามาใกล้ท่านอีกก้าวหนึ่ง
                    ถ้าท่านต้องการสร้างทีมงานให้ประสบความสำเร็จ ประวัติส่วนตัวจะช่วยให้คนเข้าใจว่า ท่านก็เป็นปุถุชน เป็นธรรมดาคนหนึ่ง ที่เคยอยู่ในสถานะใกล้เคียงกับผู้มุ่งหวัง แต่ก็สร้างความสำเร็จขึ้นมาได้ (และผู้มุ่งหวังก็ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน) พื้นที่ประวัติส่วนตัวยังเป็นพื้นที่ที่ท่านใช้สื่อถึงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และความตั้งใจของท่านเช่นกันค่ะ

             6. จัดตารางเวลาในการเขียน Blog
                    โดยทั่วไปแล้ว Blog ของเราจะมีบทความที่หลากหลายหมวดหมู่ (แต่ยังอยู่ใน Theme เนื้อหาเดียวกัน) เราควรจะ "ปล่อย" บทความของเราคละกันไปมา เพื่อให้คนที่สนใจหมวดหมู่ที่แตกต่างกันสลับกันเห็นบทความใหม่ของเรา วีธีทำที่ดีที่สุดก็คือ จัดทำเป็นตาราง (เหมือนตารางนัด) เลยว่าวันไหนจะโพสต์บทความเรื่องอะไร แต่ละบทความอยู่ในหมวดหมู่อะไร มี Keyword อะไร เป็นต้นค่ะ

             7. ทำ Keyword Research
                     ก็รู้ๆ กัน เราเขียนบทความขึ้นมา ก็ด้วยหวังว่าจะมีคนมาพบ แล้วใครจะมาพบล่ะค่ะทีนิ่ ก็คนที่ค้นหาหรือข้อความบางอย่างจาก Search Engine ไงค่ะ แล้วทำไมเราไม่ "ค้นคว้า" ซะก่อนล่ะว่า เราอยากให้ใคร (กลุ่มเป้าหมาย) มาพบบทความของเรา และคนพวกนั้นเขา search หาคำว่าอะไร เขาคงต้องมีปัญหาบางอย่างอยู่แน่เลย เขาถึงได้ค้นหาคำเหล่านั้น และถ้าเราไม่ "ออกแบบ" บทความของเราให้ Search Engine รู้ว่าบทความของเราเกี่ยวกับคำๆ นั้น จะมีสักกี่คนได้อ่านบทความของเรา และนี่ก็คือ Keyword Research Tools ที่ขอแนะนำค่ะ  >> คลิกที่นี่ (เปิดหน้าต่างใหม่) มันเป็นของ Google ค่ะ อย่างน้อยมันจะช่วยให้เป็นแนวทางได้ดีเลยทีเดียวค่ะ

Google Keyword Research Tools

             8. ทำ Search Engine Optimization
                      นี่คือวิธีทำ SEO อย่างง่าย (เฉพาะในส่วนของ On-page seo) ที่ อ.ธนกร แนะนำมาค่ะ ^_^
    • ที่ Title ต้องมี keyword
    • ที่ Description ต้องมี Keyword
    • ในเนื้อหาส่วนที่เป็น Text ต้องมี keyword โปรยอยู่
    • Keyword ที่ปะปนอยู่ในเนื้อหา ควร Format เป็น Bold,Underline หรือ ใส่สี บ้าง เพื่อให้ Search bot รู้ว่าคำนี้เป็นคำสำคัญ
    • ถ้ามีรูป ให้ใส่ keyword ใน ALT tag
    • อย่าลือสร้าง Metatag Keyword ในส่วนของ heading
            9. Title สำคัญที่สุด
           บทความของท่านจะอยู่หน้าแรกๆ ของ Google หรือมั้ยก็อยู่ตรง Title นี้แหละ เพราะผลลัพธ์ที่คุณค้นหาอยู่นั้นจะมี Keyword อยู่ใน Title เสมอ
Title ของหน้าเว็บจะปรากฎตรงนี้ของผลการค้นหา

Title ของหน้าเว็บที่ปรากฎ

และ Title ของหน้าเว็บจะอยู่ตรงนี้

Title ที่แสดงในหน้าเว็บ

และ Title ของหน้าเว็บ (บทความของท่าน) ระบุได้ที่นี่ ใน plug-in ที่ช่วยให้ SEO ของท่านประสบความสำเร็จ
การปรับแก้ Title

            10. Description สำคัญมากๆ
           เวลาที่ผู้อ่านค้นหาใน Search Engine อย่างเช่น google เมื่อผลลัพธ์ของการค้นหาปรากฎขึ้นแล้ว ก็จะมีหัวข้อเรื่อง (Title) กับคำอธิบาย (Description) ตรงนี้แหละสำคัญสุดๆ  เพราะคนเขาจะคลิกเข้ามาก็เมื่อได้อ่านว่าหน้าเว็บ (บทความ) นี้เกี่ยวกับอะไร เกี่ยวกับสื่งที่เขาต้องการค้นหาหรือเปล่า ถ้าต้องนี้อธิบายได้ดี เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขาต้องการเข้าก็จะคลิกเข้ามา
           โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักละเละตรงนี้ แล้วปล่อยให้ Google หยิบเอาบางส่วนของเนื้อหาในบทความของเราไปแสดงเอง ซึ่งถ้าเราไม่ควบคุม เราก็จะไม่ได้สิ่งที่เราต้องการ ดังนั้น การควบคุมก็คือ บอก Google ซะ ว่าทบความของเราเกี่ยวกับเรืองอะไร ตรงนี้เราก็ต้องใช้ Plug-in มาเพิ่มเติม เพื่อให้เราสามารถป้อน Description ของบทความเราเข้าไปได้
การปรับแก้ Description

การแสดงผลของ Description ใน Index

           11. Keyword - ส่วนสำคัญที่ละเลยไม่ได้
           โดยปรกติแล้ว Search bot จะตรวจดู metatag keyword ด้วยว่าหน้าเว็บ (บทความ) นี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร ดังนั้น plug-in ที่ช่วยในการทำ SEO จะช่วยให้ท่านสามารถ ระบุ keyword ของบทความ ได้

การเพิ่ม keyword

           12. Heading (HTML tag H1, H2, H3)
           ส่วนสำคัญอีกส่วนที่ Search bot ให้ความสำใจก็คือข้อความที่ mark ด้วย HTML tag H1, H2, H3 
           ในการเขียนบทความ การใส่หัวเรื่อง และหัวข้อย่อย จะช่วยแบ่งส่วนของบทความให้ดูน่าอ่าน เป็นระเบียบเรียบร้อย และ search bot ต่างๆ ก็จะคอยดูเนื้อความในส่วนหัวเหล่านี้แหละครับว่าเรากำลังจะเขียนถึงเรื่องอะไร ดังนั้น เคล็ดลับของข้อนี้ก็คือ บรรจุ keyword ของบทความของท่านลงไปในชื่อหัวข้อเหล่านี้ด้วย

การใช้ HTML tag H1

หลักง่ายๆ 5 ประการมีดังนี้
    • หัวข้อที่สำคัญที่สุดของบทความ ควร tag ด้วย H1
    • หัวข้อที่ tag ด้วย H1 ต้องมี keyword ของบทความอยู่ในนั้น
    • ควรที่ H1 เพียงอันเดียวในบทความ
    • หัวข้อย่อยรองลงมาก็ tag ด้วย H2 และหัวข้อที่ย่อยลงไปอีกก็ tag ด้วย H3
    • แบ่งส่วนของบทความด้วยหัวข้อย่อยเหล่านี้ โดยทั่วไปคนจะ scan อ่านหัวข้อก่อน ถ้าสนใจเขาจะอ่านรายละเอียดในหัวข้อนั้น ทำให้บทความดูไม่น่าเบื่อ ไม่ใช่เขียนยาวพรืดลงมา เขาอ่านแป๊ปๆ ก็คลิกหนีไปแล้ว ไม่ทันได้อ่านข้างล่าง
           13. เนื้อหา - สำหรับผู้อ่าน ไม่ใช่สำหรับผู้เขียน
           ความผิดพลาดที่เป็นกันบ่อยในการเขียนบทความก็คือ เล่าเรื่องตัวเองมากไป เขียนแต่ในสิ่งที่อยากจะเขียน เอาตัวเอง (ท่าน-ผู้เขียน) เป็นจุดศูนย์กลางที่ถูกแล้ว เราต้องเอาผู้อ่านเป็นจุดศูนย์กลาง ต้องคิดอยู่เสมอว่า คนอ่าน (กลุ่มเป้าหมายของเรา) ต้องการอยากจะรู้อะไร อยากจะอ่านอะไร ต้อง focus อยู่ที่ปัญหาของผู้อ่าน ทำให้เขารู้สึกได้ประโยชน์ อะไรเช่นนั้นค่ะ

           14. เนื้อหาอุดมไปด้วยคุณค่า
           จะมีประโยชน์อะไร ถ้าบทความของเราไม่ได้ให้คุณค่ากับผู้อ่าน จะมีประโยชน์อะไร ถ้าบทความที่ถูกอ่านไม่ได้สร้างคุณค่า (ผลลัพธ์ทางการตลาด) ให้กับเรา ถ้าท่านจะเขียนบทความอะไรขึ้นมาสักอย่าง ระหว่างที่เรียบเรียง/ปรับแต่ง ให้นึกถึงคำถาม 5 ข้อดังต่อไปนี้ค่ะ
    • ทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายของเรา "เห็น" บทความของเรา?
    • เขียนอย่างไรให้พวกเขา "อยากอ่าน"?
    • เขียนอย่างไร ใช้สำนวนอย่างไร ให้เขาอ่านแล้ว "เข้าใจ"?
    • อ่านแล้วพวกเขาจะ "Take Action" อย่างที่เรา Call To Action หรือเปล่า?
    • คิดว่าพอเขาอ่านแล้ว เขาจะ "แบ่งปัน" บทความของเราให้เพื่อนๆ เขาหรือเปล่า?
           อ.ธนกร ให้คำแนะนำดังนี้ค่ะ
    • ทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายของเรา "เห็น" บทความของเรา > ทำ SEO กับบทความของเรา เช่น ใช้ Title, Description, H1 tag, โปรย Keyword, สร้าง Inbound Links
    • เขียนอย่างไรให้พวกเขา "อยากอ่าน" > เนื้อหาดี มีสาระ ตรงประเด็น ภาษาสำนวนอ่านง่าน จัดโครงสร้างดี (ทั้งเนื้อหาและหน้าตา) สะกดถูกต้อง จัดหน้าเหมาะสม
    • เขียนอย่างไร ใช้สำนวนอย่างไร ให้เขาอ่านแล้ว "เข้าใจ" > ใช้รูปภาพหรือวีดีโอช่วย เขียนด้วยสำนวนแบบภาษาพูด ใช้ Chart/Diagram ประกอบการเขียน
    • อ่านแล้วพวกเขาจะ "Take Action" อย่างที่เรา Call To Action หรือเปล่า > ใส่กล่อง Comment, ทดสอบลิ้งต่างๆ, วางลิ้งค์ของ Call To Action ในปริมาณที่สมควร และในที่ๆ เหมาะสม
    • คิดว่าพอเขาอ่านแล้วเขาจะ "แบ่งปัน" บทความของเราให้เพื่อนๆเขาหรือเปล่า > ปุ่มแบ่งปันต่างๆ เห็นได้ชัด ทดสอบแล้ว work ใช้ง่าย ลงท้ายบทความด้วยการขอให้ผู้อ่านแสดงความรู้สึก ตั้งคำถาม หรือขอ/ชักชวนให้แบ่งปันเอาดื้อๆ เลยก็ได้ค่ะ
           15. อย่าลืม Excerpt
           อ่านว่า เอ็ก-เซิร์พท มันเป้ฯเหมือนบทคัดย่อของบทความ ซึ่งถ้า Theme ของ CMS ของท่าน support feature นี้แล้วหละก็ มันจะเอาสิ่งที่เขียนเป็น Excerpt ไปไว้ที่หน้าแรกของ Blog ทำให้คนอ้านที่มีดูที่หน้าแรกของบล๊อกนั้นเข้าใจได้ง่าย ว่าบทความนี้จะพูดถึงเรื่องอะไร

           Excerpt ต่างจาก Description ตรงที่ว่า Excerpt จะถูกแสดงอยุ่ที่หน้าแรกของ Blog แต่ Description เป็นสิ่งที่ถูกแสดงอยู่ในผลการค้นหาของ Search Engine เราอาจจะเขียน 2 อย่างให้ให้เหมือนกัน หรือแตกต่างกันก็ได้

แก้ไข Excerpt ระหว่างการเขียนบทความ

Excerpt จะปรากฏในหน้าแรกของ Blog

           16.ขัดเกลาบทความ
           ก็เหมือนการเขียนหนังสือแหละค่ะ ก่อนจะตีพิมพ์ก็ต้องมีการตรวจทาน แก้คำผิด ปรับสำนวน จัดหน้า จัดช่องไผ ปรับรูปแบบตัวอักษร ทำให้ดูดีที่สุด และที่สำคัญคือการตรวจสอบลิ้งค์ทุกลิ้งค์ว่าให้งานได้จริงคลิกแล้วไปหน้าที่ต้องการได้จริง

           17. หุ่นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง (O_O )!
           บทความใน Blog ก็เหมือนนางแบบค่ะ รูปร่างหน้าตาดี หุ่นดีสมส่วน ใครๆก็อยากมอง อยากอ่านบทความ ซึ่งมีโครงภาพโดยรวมที่ต้องมีลักษณะเด่นๆ อยู่ 6 ประการดังนี้ค่ะ
    1. หัวเรื่อง > ดูน่าสนใจ เหมือน "พาดหัวข่าว" อ่านปุ๊ป..โดน และทำให้ผู้อ่านที่อ่านหัวเรื่องแล้วต้องรู้สึกว่ามันเกี่ยวกับเขา ยิ่งสิ่งที่จะได้มันเป็นของหายาก ถูกปกปิด ไม่ค่อยมีใครบอก ก็ยิ่งอยากอ่าน
    2. ลิ้งค์ข้อความที่ชี้ไปยังหน้า Capture Page ของท่าน >  ถ้าคุณทำการตลาดออนไลน์อยู่ คุณคงมีหน้าเว็บไซต์ที่ให้เก็บลิสต์รายชื่อของ Lead (Capture Page) อยู่ใช่ไหมครับ และถ้าในบทความของคุณมีคำหรือประโยคที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้า Capture Page แล้วหละก็ ให้คุณ สร้าง hypertext ling บนคำ/ประโยค เหล่านั้น แล้วนี่ก็จะช่วยสร้าง backlink ไปยังหน้า Capture Page ของคุณ เป็นการเพิ่ม Score และเพิ่มอันดับ SEO (Search Engine Optimization) ได้เป็นอย่างดีค่ะ
    3. Call To Action ที่ Sidebar ของ  Blog > call to action คือสิ่งที่คุณอยากให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณทำอะไรสักอย่าง เราคงไม่อยากปล่อยให้คนที่เดินเข้าร้านของเราเดินผ่านไปเฉยๆ ใช่มั้ยค่ะ อย่างน้อยก็หยิบโบรชัวร์ไปสักใบ หรือขอนามบัตรเข้าไว้ก็ยังดี และถ้าได้พูดคุยกันสักนิดก็จะดี หรืออย่างน้อยที่สุด ได้ยิ้มให้กันหน่อยก็ดีเหมือนกัน ^___^ ดังนั้นที่ Sidebar จะต้องมีอะไรๆ ให้คนเข้าคลิกและเป็นประโยชน์กับเรา ง่ายๆเลยค่ะ เช่น ปุ่ม "Like" ของ Facebook, การลงคะแนน Vote ตามหัวข้อต่างๆ อะไรประมาณนี้ค่ะ 
    4. ปุ่มแบ่งปันไปยัง social network ในรูปแบบต่างๆ >  เช่น กล่อง Facebook Comment, ปุ่ม Send/Recommend/Like/Tweet ประมาณว่า อ่านดีแล้วบอกต่อ ^_^ นี้ก็จะเป็นตัวเร่งดึง Traffic เข้าเว็บของคุณอย่างนึกไม่ถึงเลยทีเดียวค่ะ 
    5. Call To Action ที่ตอนท้ายของบทความ >  เราควรที่จะใส่ Call To Action ลงไปตอนท้ายของบทความด้วยน่ะค่ะว่าอยากให้เข้าทำอะไร เช่น แบ่งปันใน Social Media ต่างๆ , ช่วยเขียน Comment หน่อย, หรือคลิกไปหน้าธุรกิจเรา เป็นต้นค่ะ
    6. ความเกี่ยวเนื่อง >  อาจมีหลายคนที่เขียนบทความแล้ว ออกทะเล O_-" ขึ้นต้นเรื่องหนึ่ง แต่จบลงอีกเรื่อง ก็ไม่ไหวน่ะค่ะ ฉะนั้นต้องระวังค่ะพยายามให้เนื้อเรื่องมันร้อยเรียง พันๆ วนๆ อยู่ในหัวข้อหลัก (ตามหัวเรื่อง) ถ้าคนสนใจเรื่องนั้นจริงๆ เขาจะอ่านจนจบแน่นอนค่ะ
           18. รูปภาพ ช่วยลดความน่าเบื่อ
           การแทรกรูปภาพลงไปในบทความ จะช่วยลดความน่าเบื่อของบทความ นี้คือเรื่องจริงที่คงไม่มีใครปฏิเสธใช่มั้ยค่ะ ซึ่งภาพจะเป็นตัวช่วยในการสร้างอารมณ์ของบทความนั้นๆ ภาพจะช่วยขยายความรู้สึก และขยายความสิ่งที่เรากำลังเขียนและดูน่าอ่านมากขึ้นค่ะ
และถ้าใส่รูปที่เหมาะสมลงไป มันจะช่วยอย่างอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
  • ช่วยสื่อความรู้สึกและอารมณ์ของบทความ
  • ช่วยสื่อถึง mail idea ของบทความ (หนื่งภาพแทนพันคำ)
  • ช่วยกระตุ้นความฉงนสนเท่ห์ หรือสร้างความประหลาดใจให้กับผู้อ่าน
  • ช่วยสะท้อน "หัวเรื่อง" ให้เห็นภาพมากขึ้น
  • หรืออาจจะช่วยให้ผู้อ่าน "ยิ้ม" ได้ในระหว่างที่อ่าน (^___^)
           19. เลียนแบบนักเขียนมืออาชีพ
           อ. ธนกร แนะนำให้ลองดูผลงานของนักเขียนมืออาชีพค่ะ เพราะคนพวกนั้นเขาต้อง "เนี้ยบ" อยู่แล้วค่ะ และอ.ธนกรได้แนะแนวทางอย่างนี้ค่ะ
  • เนื้อหามีข้อเท็จจริงที่ตรงไปตรงมา > เขียนเรื่องราวอะไร ก็ "อย่าบิดเบือน อย่าเอนเอียง"
  • สร้างความน่าเชื่อถือในตัวคุณให้ได้ > การเขียนบทความขึ้นมาสักเรื่องเราต้องมี "เป้าหมาย" และเป้าหมายนั้นก็คือ การสร้างความน่าเชื่อถือว่าคุณรู้จริงในสิ่งที่คนอื่นค้นหา
  • ให้เครดิตกับแหล่งที่มาของบความต้นฉบับ > การเขียนบทความขึ้นมาจากความรู้หรือจากหนังสือ หรือบทความของคนอื่น ก็อย่าลืมพูดถึงแหล่งที่มานั้นด้วยน่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการนำเนื้อหามาปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบของเราก็ตาม เราควรที่จะมีการอ้างอิงเนื้อหาด้วย โดยมารยาทในการเขียนบทความควรมีการขอบคุณแหล่งที่มาของเนื้อหา ว่าเป็นของใคร มาจากที่ไหน ด้วยค่ะ
  • ใช้โมเดลปิรามิดหัวกลับในการเขียน > ช่วงต้นๆ ของบทความเราควรบอกคร่าวๆ ว่าเรากำลังจะเขียนอะไร เขียนให้ใครอ่าน อ่านแล้วได้ประโยชน์อย่างไร แล้วก็ค่อยๆ เจาะรายละเอียดลงไปเรื่อยๆ (>_<)"  นี้คือคำแนะนำจาก อ.ธนกร ค่ะ
  • อย่าลืมตรวจทาน/แก้คำผิด > คุณควรขยันตรวจทานความเรียบร้อยของบทความของคุณ การสะกดคำ การเว้นช่องไฟ/เว้นวรรค การปรับขนาดตัวอักษรให้น่าอ่าน การปรับแต่ง Theam ให้สวยงามน่าอ่านน่าสนใจ คุณต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความน่าเชื่อถึอในการเป็นนักเขียนบทความมืออาชีพอย่างคุณให้ได้ สู้ๆ ค่ะ (*____*)
           20. วัดผล
           ผลการวัดผลในแง่มุมต่างๆ จะเป็นตัวชี้แนวทางในการปรับปรุงบทความของเรา ว่าควรปรับตรงไหน อย่างไร และเพื่อเป็นการพัฒนาฝีมือการเขียนบทความของเราให้ดีขึ้นค่ะ (^_^)


ขอบคุณ อ.ธนกร สำหรับข้อมูลดีๆ และภาพประกอบสวยๆ จาก ThaiMLMCenter น่ะ่ค่ะ ^__^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger