วันเสาร์, ตุลาคม 20, 2555

การเช็ค OnPage ในการทำ SEO

                 มาแล้วๆ ค่าาาา จากที่หายหน้าหายตาไปพักใหญ่กับการบอกเล่าเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการทำ SEO วันนี้เลยของจัดทริปเล็กๆ เกร็ดความรู้น้อยๆ ที่คิดว่าหลายๆ คนน่าจะนำไปปรับใช้หรือเป็นการไขข้อข้องใจให้คุณได้ไม่มากก็น้อยค่ะ วันนี้ของพูดกันใน หัวข้อ "การ Check OnPage สำหรับการทำ SEO" จะต้องเช็คอะไรบ้าง? ไปดูกันเลยค่ะ

การเช็ค OnPage ในการทำ SEO

1. Title Tag ซึ่งถึอว่าเป็นแท็กที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำSEO แท็กนี้สำคัญที่สุดค่ะ การใช้ Title Tag ก็ไม่ใช่ว่าจะมาใส่กันเป็น meta keyword แต่เป็นการแค่ใส่คีย์หลักที่สำคัญ และที่สำคัญจะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาเว็บด้วยน่ะค่ะ

2. Keyword in Domain ตั้งชื่อโดเมนที่สื่อถึง Keyword นี้ก็สำคัญใช่เล่นที่ไหนละค่ะ การทำ URL ให้สื่อความหมาย ID อะไรไม่สำคัญเพราะ Search Engine ไม่รู้หรอกว่ามันคืออะไร  ^_^

3. Keyword in H1-H6 อุ๊ย!! ข้อนี้ก็ลืมไม่ได้น่ะค่ะ ซึ่งมันคือการแท็กเพื่อแสดงความสำคัญของหัวข้อต่างๆ จากมากไปน้อย เพราะการใส่  Keyword เข้าไปในแต่ละหัวข้อนั้นสำคัญและช่วยได้มากเลยทีเดียวค่ะ โดยเฉพาะ H1 แต่ไม่ต้องกลัวว่าขนาดจะใหญ่จนเกินงามน่ะค่ะ เพราะเราสามารถปรับแต่ง css ได้ค่ะ

4. Keyword in Meta Description การใส่คำอธิบายสั้นๆ ไม่เกิน 160 ตัวอักษร และอย่าลืมเอา Keyword ใส่ลงไปด้วยน่ะค่ะ

5. Keyword in Content แน่นอนว่าเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณจะต้องมี Keyword ซึ่ง Keyword ที่พบในการค้นหาจาก Google นั้นส่วนใหญ่มาจาก Keyword ในบทความทั้งนั้นค่ะข้อนี้สำคัญมากห้ามลืมเด็ดขาดเลยน่ะค่ะ

6. ALT ไม่ใช่ที่ใส่ Keyword นะค่ะ หลายๆ คนชอบเข้าใจผิดตลอดๆ แท็กนี้เค้ามีไว้ให้ใส่คำอธิบายรูปภาพ แต่ถ้าต้องการเอาKeyword ไปใส่ก็สามารถใส่ได้เช่นกันค่ะ แต่ภาพนั้นจะต้องสื่อความหมายตรงกับ Keyword ด้วยนะค่ะ ไม่งั้นจะโดนแบนไม่รู้ตัว อิอิ ^_^

7. การใส่ Keyword เยอะเกินไปจนดูผิดปกติโดยตั้งใจ ควรจะให้อยู่ราวๆ 3-7 % สำหรับ Keyword หลัก ส่วนคีย์อวิร์ดรอง 1-2% ก็พอ แต่อย่าให้เกิน 10 % เพราะมันจะดูเยอะเกินไปและอาจเป็นผลเสียในอนาคตได้ค่ะ

8. Tag strong, em พวก ตัวหนา ตัวเอียงก็อย่าลือเกร็ดเล็กแบบนี้เด็ดขาดน่ะค่ะ เพราะพวก Search Engine มันจะจับว่าเราให้ความสำคัญกับ Tag นี้นั้นเองค่ะ

9. sitemap นี้ก็สำคัญเช่นเดียวกันค่ะ ควรทำไว้สำหรับเว็บคุณด้วยน่ะค่ะ เพราะเวลา Search Engine มาเจอเว็บคุณถ้าเจอหน้านี้ก็เท่ากับเจอทุกๆ หน้าเลยค่ะ

10. Hyphens in URLs คือการทำเครื่องหมาย  _  (underscore)ระหว่าง URLs ค่ะ นอกจากจะช่วยให้อ่านง่ายขึ้นแล้วยังมีผลทำงาน SEO ด้วยน่ะค่ะ เพราะ Search Engine จะมองแบบนี้ค่ะ เช่นคำว่า บทความ-seo เห็นเป็น บทความ seo แต่หากคุณทำแบบนี้  บทความ_seo จะมองเห็นเป็น บทความseo ค่ะ


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก seo.clisk.co.th
Powered By Blogger